GroupWork Set 2 เป็นการสืบค้น เรียบเรียงและอภิปรายสรุปเกี่ยวกับ ตัวอย่าง Webquest แบบใหม่ การวิเคราะห์รูปแบบกิจกรรมและเว็บอ้างอิง ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรม
การศึกษาอิงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารร่วมสมัย โดยใน Group 2 นี้ ตนก็ได้รับมอบหมายให้สรุปWebquest เรื่องที่ 5 และ 6 อภิปรายร่วมกันกับเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม จนกระทั่งได้ผลงานใน GroupWork Set 2 ค่ะ
( ดูฉบับเต็มที่แถบด้านขวามือนะคะ )
( ดูฉบับเต็มที่แถบด้านขวามือนะคะ )
-------------------------------------------------------------------------------
เรื่องที่ 5 CharlotteWebSchool Safety WebQuest
1. กิจกรรมตาม Taskonomy เป็นกิจกรรมแบบ Creative Product Task, Persuasion Tasks และ Mystery Task เป็นการจำลองสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องอยู่ในช่วงชีวิตวัยรุ่นที่มีสิ่งยั่วยุต่างๆ มากมาย เช่น ยาเสพติด, การก่อการร้าย, ความไม่ปลอดภัยทางเพศ, ความรุนแรงในการรวมกลุ่ม และความรุนแรงในโรงเรียน ดังนั้นจุดประสงค์หลักของ Web Quest นี้ คือ การตั้งคำถามและโน้มน้าวใจ ชักจูงให้ผู้เรียนคิดหาวิธีการที่จะช่วยให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย โดยต้องอาศัยการรวมกลุ่มของผู้เรียนซึ่งสมมติเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละหัวข้อ แล้วตอบคำถามร่วมกันอีกครั้ง จนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องและเป็นไปได้
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เหมาะจะนำไปประยุกต์ใช้ คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในเรื่องหน้าที่พลเมือง โดยเสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาในเรื่องความปลอดภัยในชีวิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในเรื่องการเขียนเรียงความ
3. สื่อที่ครูต้องทำเพิ่มนอกเหนือจากแหล่งข้อมูลเว็บ คือ ใบงาน ใบกิจกรรม เตรียมวัสดุอุปกรณ์และเอกสารประกอบเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิต
4. ชิ้นงาน หรือผลงานหลักที่ผู้เรียนต้องผลิต หรือทำออกมา คือ การสร้างแนวคิดในการจัดรูปแบบของโรงเรียนที่ปลอดภัย ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้จริงในโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนที่ปลอดภัยจะมีผลอย่างไรต่อผู้เรียนและจะชักจูงคนอื่นอย่างไร เพื่อให้เขาร่วมมือในการทำให้โรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดภัยได้
5. เมนูหลักที่ใช้มีอยู่ 16 เมนู ( Title,Introduction, Question, Background Info, Individual Roles Teenagers, Sociologists , Educators , Parents , Counselors , Politicians , Group Process , Real Feedback , Rubric , Conclusion, Teacher's Guide ) เรียงอยู่ด้านบนเหมือนเว็บเควสโดยทั่วไป เมื่อคลิกแต่ละเมนูจะขึ้นเนื้อหาใหม่ทับหน้าเว็บเดิมที่มีอยู่ในส่วนของเมนู และในส่วนท้ายของ Introduction จะมี Question and Task
เรื่องที่ 6 Search for China
1. กิจกรรมตาม Taskonomy เป็นกิจกรรมแบบ Journalistic Task และ Analytical Tasks ให้ผู้เรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของประเทศจีน ความน่าสนใจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความซับซ้อนของสถานการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในประเทศจีน สมบัติทางธรรมชาติและศิลปะของโลก การตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้คนและวัฒนธรรม โดยการตั้งคำถามที่ว่า อะไรที่เราควรจะใช้เวลาในการกำหนดนโยบายไปสู่ประเทศจีน? ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มเพื่อรายงานแผนปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงมุมมองดังต่อไปนี้ คือ ธุรกิจ, วัฒนธรรม, ศาสนา, สิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อมและการเมือง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาความสนใจในการศึกษาของประเทศจีน การใช้พลังของอินเทอร์เน็ตเพื่อสำรวจขั้นสูงของจีน การเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับหกลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมจีน ความตระหนักในเรื่องที่ซับซ้อนจากมุมมองต่างๆ การกำหนดและสนับสนุนจากหนึ่งในหกมุมมอง การทำงานกับเพื่อนร่วมทีมเพื่อแก้ปัญหาแผนปฏิบัติการร่วมกัน และตอบคำถามลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในโลกพึ่งพาของเรามากขึ้น ซึ่งผู้เรียนจะสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้โดยการเข้าร่วมทีมและรับบทบาทที่ระบุให้แตกต่างกัน และมีเป้าหมายบทบาท ดังนี้ ธุรกิจการลงทุนเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ,พิพิธภัณฑ์ผู้ดูแลเพื่อรักษาสมบัติทางวัฒนธรรมของโลก, ผู้นำศาสนาเพื่อส่งเสริมให้ความเข้าใจจิตวิญญาณ, กิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อให้แน่ใจว่าผู้คนจะรับการรักษาด้วยความเป็นธรรม, กิจกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อปกป้องทรัพยากรทางธรรมชาติของโลก และ United States Senator เพื่อความสมดุลเป้าหมายทั้งหมดและรักษาสันติภาพโลก จากนั้นก็สร้างกลุ่มรายงานขึ้นหรือที่เรียกว่าเพื่อนร่วมชั้นและชุมชนเวิลด์ไวด์เว็บ รายงานนี้นำเสนอคำตอบของกลุ่มซึ่งมาจากการมองปัญหาจากมุมมองที่แตกต่างกัน และให้ผู้เรียนในแต่ละกลุ่มร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม โดยใช้การอินเทอร์เน็ตเพื่อการเชื่อมต่อในโลกของความเป็นจริง ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กลยุทธ์ในการวิเคราะห์เรื่องที่ซับซ้อน การกำหนดแผนปฏิบัติการและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อการแก้ปัญหาอย่างประนีประนอมที่สุด
2. กลุ่มสาระฯ ที่เหมาะนำไปประยุกต์ใช้ เป็นการสอนแบบบูรณาการ มีหลักสูตรและมาตรฐานที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษและศิลปะ
3. สื่อที่ครูต้องทำเพิ่ม ใบงาน ใบกิจกรรม เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำอุปกรณ์ในการแสดงเตรียมหนังสืออ่านประกอบ
4. ชิ้นงาน หรือ ผลงานหลัก ที่ผู้เรียนต้องผลิต หรือ ทำออกมา การตอบคำถามในใบงาน คือการแสดงของแต่ละกลุ่มที่แบ่งกันเป็นบทบาทต่างๆ เพื่อสรุปเกี่ยวกับประเทศจีนในรูปแบบที่หลากหลาย และนำมาแสดงบทบาทสมมติ
5. เมนูที่ใช้จะมีเมนู Knowledge Network Explorer (KNE) , home , feedback , search และมีเมนูหลักที่ใช้สำหรับ Web Quest ในตำแหน่งถัดมา คือ Introduction, Quest(ion), Background, Individual Roles, Group Process, Feedback , Conclusion และที่น่าสนใจคือมี Dictionary แปลภาษา ส่วนเมนูที่ด้านข้างเป็น Teaching Guide อยู่ซ้ายมือและขวามือเป็น Internet Links
By Sureerat Pimkate
เพื่อนๆ กลุ่ม 3 ช่วยคอมเม้นต์ด้วยนะคะว่า ตัวอย่างเว็บเควสแนวคิดใหม่ มีอะไรที่เราต้องปรับปรุงหรือแก้ไขตรงไหนบ้าง???
ReplyDeleteเท่าที่สังเกตการใช้taskในwebquestสามารถใช้ได้หลายtask ซึ่งปอว่าดีนะเพราะการเรียนรู้ต้องมีหลากหลาย ส่วนเรื่องที่5 การใช้taskน่าสนใจเหมาะกับเนื้อหา ผู้เรียนก็เกิดความสนุกเพราะเป็นการจำลองเหตุการณ์ให้ผู้เรียนสมมติตนเองเข้าไปในเหตุการณ์ นอกจากนี้การนำไปประยุกต์ใช้ในส่วนของภาษาไทยนอกจากการเขียนเรียงความแล้วยังเป็นเรื่องของการโน้มน้าว
ReplyDeleteสำหรับเรื่องที่6 เป็นการTask นี้เป็นการให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาและมีส่วนร่วมรู้จักทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักยอมรับความคิดที่แตกต่าง ส่วนการนำเสนอที่มีการแสดงบทบาทสมมติเป็นนสิ่งที่ดีฝึกการกล้าแสดงออก
ReplyDeleteขอบใจมากจ๊ะ เดี๋ยวจะเพิ่มเติมตามนั้นนะปอ
ReplyDeleteจากเรื่องที่หกนะคะ ก้อยว่าเขากำหนดให้ผู้เรียนสวมบทบาททั้งหกด้านนั้นด้วยใช่หรือป่าวคะ
ReplyDelete